
โฮมสคูลคืออะไร?
เข้าใจโฮมสคูล (บ้านเรียน)
โฮมสคูลเป็นรูปแบบการศึกษาหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมหลังโควิด-19 ท ำไมถึงเป็นเช่นนั้น เชิญรับชม
นาทีที่ 1
โฮมสคูล (Homeschool) หรือ การจัดการศีกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
ตามกฎหมายไทยด้านการศึกษา คนไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม คือต้องมีสิทธิ์ได้เรียนจนจบระดับ ม.3 ทุกคน
โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน และยังหมายถึง หน่วยงานเอกชน, ผู้ปกครองทุกคน ต้องสนับสนุน ให้เด็กทุกคนนั้นเรียนจบขั้นพื้นฐาน
และการศึกษานั้นจะต้องให้ผู้เรียนหรือเด็กมีสิทธิ์เลือกความถนัดเองได้ เพื่อให้นำความรู้ที่เรียนาใช้ดำรงชีพในชีวิตประจำวันได้
โดยทุกครอบครัวมีสิทธิ์ในการเลือกหลักสูตร หรือวิชาความรู้ให้กับผู้เรียนในครอบครัวได้ เพียงแต่เมื่อเป้นหลักสูตรเฉพาะเจาะจง โรงเรียนในระบบปกติจะไม่ได้รองรับ จึงทำให้ ครอบครัวนั้นๆ มีสิทธิ์ที่จะจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เองที่บ้าน โดยคิดหลักสูตรที่เหมาะสมขึ้นมาได้เอง (แต่ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางที่กระทรวงศึกษากำหนดมา) และหลักสูตรที่ออกแบบมานั้นจำเป็นที่จะต้องให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาและรับรอง จึงจะทำให้ผู้เรียนที่ใช้หลักสูตรนี้ มีใบจบการศึกษาเหมือนกับ โรงเรียนในระบบปกติ ทุกประการ โดยสามารถนำไปรับรองการจบการศึกษาและใบแสดงคะแนนการเรียน ไปยื่นเพื่อเรียนต่อได้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทย
นาทีที่ 2
โฮมสคูลเป็นเรื่องระหว่าง ผู้ขอจัดการศึกษา และเจ้าหน้าที่เขตการศึกษา
ทำความรู้จักกับคำศัพท์และผู้เกี่ยวข้อง แบบสั้นๆ ดังนี้
ครอบครัว หรือ ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ ญาติที่มีสิทธิเลี้ยงดูเด็กตามกฎหมาย
ผู้จัดการศึกษา หมายถึง ผู้เป็นตัวแทนพ่อแม่ในการจัดการศึกษา เพราะผู้ที่จะจัดการศึกษาให้เด็กได้ ต้องเรียนจบอย่างน้อย มัธยมศึกษาปีที่ 6 หากพ่อแม่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็ยังสามารถแต่งตั้งใครก็ได้มาเป็นผู้จัดการศึกษาแทนได้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายถึง หน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่องการศึกษาประจำพื้นที่จังหวัดที่ผู้ต้องการจัดการศึกษาอาศัยอยู่ โดยในสำนักงานเขตการศึกษานั้นจะ มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายย่อยๆ ที่คอยให้บริการจนแล้วเสร็จ หลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ
กลุ่มส่งเสริมการศึกษา ทำหน้าที่ ประสานงานและแนะนำเราตั้งแต่เริ่มจนจบการศึกษา
กลุ่มศึกษานิเทศน์ ทำหน้าที่ ช่วยแนะนำเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอน, สถานที่ในการสอนที่เหมาะสม และการช่วยแนะนำการประเมินพัฒนาการของผู้เรียน
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ทำหน้าที่ อนุมัต และรับรองเรื่องการเรียนของผู้เรียนตลอดการศึกษาโฮมสคูล
โดยหลักแล้วการติดต่อประสานงานเรื่องโฮมสคูลตั้งแต่เริ่มจนจบการศึกษาจะเป็นการติดต่อกันระหว่าง ผู้ขอจัดการศึกษา(ครอบครัว) และ ผู้ให้จัดการศึกษา(เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริม) และระบบที่ใช้ติดต่อสื่อสารและส่งเอกสารของสำนักงานเขตการศึกษาปัจจุบันยังใช้ระบบเอกสารเข้าเล่มและส่งไปรษณีย์ระหว่างกัน จึงทำให้ที่ผ่านมาเกิดปัญหา ด้านความล่าช้า และข้อมูลตกหล่นบ่อยครั้ง ดังนี้นเว็บไซต์ E-Homeschool จึงพัฒนาเพื่อให้เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร และส่งข้อมูล ระหว่าง 2 ฝ่ายได้ดียิ่งขึ้น
นาทีที่ 3
ขั้นตอนการเริ่มต้นขอจัดโฮมสคูล
ขั้นตอนหลักในการขอจัดโฮมสคูล ตั้งแต่ 0 มีทั้งหมด 9 ขั้นดังนี้
1. ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เขตการศึกษาเพื่อปรึกษาเรื่อง ขอจัดโฮมสคูล
2. พูดคุยเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับโฮมสคูล
3. ยื่นความประสงค์ขอจัดโฮมสคูล เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแผนการจัดโฮมสคูล
4. เขียนแผนหลักสูตรโฮมสคูล เตรียมเอกสาร และหลักฐานที่จำเป็นทั้งหมด
5. ยื่นคำร้องขอจัดโฮมสคูล พร้อมแผนหลักสูตรที่ออกแบบไว้ แนบเอกสาร และหลักฐานที่จำเป็นทั้งหมด
6. พิจารณาความครบถ้วน และถูกต้องของเอกสารทั้งหมด
7. คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาคำขอจัดโฮมสคูล
8. คำอนุมัตผ่าน ผู้ขอจัดรับบัตรผู้เรียน และเงินสนับสนุนจากรัฐ
9. เริ่มต้นโฮมสคูลได้

Process Flow Chart ขั้นตอนการขอจัดโฮมสคูล ระหว่าง ผู้ขอจัด และผู้อนุมัติให้จัดโฮมสคูล
นาทีสรุป
วงจรการทำงานโฮมสคูล
ตลอดการจัดโฮมสคูลไม่ว่าอยู่ระดับชั้นใด ก็จะมีวงจรการดำเนินการที่เหมือนกัน ดังนี้
1. การเริ่มต้นขอจัดโฮมสคูล
2. การบันทึกภาพ วีดีโอ ผลงาน การบ้าน และการประเมินผลการเรียนประจำวัน
3. การประเมินผลการศึกษาด้วยตนเอง ตอนจบภาคเรียนประจำปี
4. การเลื่อนชั้น ซ้ำชั้น หรือขอย้ายไปเรียนโรงเรียนในระบบ
5. ปรับปรุง และยื่นแผนหลักสูตรการสอน ในปีถัดไป
หากคุณพอเข้าใจถึงการจัดการสอนแบบโฮมสคูลบ้างแล้วลองต่อยอดความเข้าใจเกี่ยวกับโฮมสคูล เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น
เพิ่มความรู้อีกขั้นเกี่ยวกับโฮมสคูล ถึง กิจวัตรประจำวัน กิจกรรมที่ต้องทำ และการประสานงานกับเจ้าหน้าที่เขตการศึกษาฯ ร่วมกับการใช้งานระบบโฮมสคูลของฉัน จะทำให้การจัดการเรียนแบบโฮมสคูลนั้น ง่ายที่สุดตั้งแต่เคยมีมา เรียนคอร์สนี้เลย